วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

รายชื่อสมาชิก

รายชื่อสมาชิก

นายเอกภูมิ  สักกัดทอง  ม.6/3 เลขที่ 2









นายพีรณัฐ  คำคูณเมือง  ม.6/3 เลขที่ 3










นายสุเมธ  น้อยพราย  ม.6/3  เลขที่ 4












นายดุลยวัต  สิทธิเวช  ม.6/3 เลขที่ 5


นายชานนท์ สนั่นไหว ม.6/3 เลขที่ 7


นายนพปฎล สุขิตกุล ม.6/3 เลขที่ 8
 
นายประมณฑ์  แสงอินทร์  ม.6/3 เลขที่ 9 


นายมนัสวี แสงศรีศิลป์ ม.6/3 เลขที่ 10


นายเนติพงษ์ พลอยงาม ม.6/3 เลขที่ 11


นายเนติธร ภิญวัย  ม.6/3 เลขที่ 40

วัดลุ่มมหาชัยชุมพล วัดประวัติศาสตร์ของชาวเมืองระยอง


วัดลุ่มมหาชัยชุมพล เดิมชื่อวัดลุ่มมหาชัยชุมภูพล ตั้งอยู่เลขที่ 019 ถ.ตากสินมหาราช ในเขตเทศบาลนคร อ.เมือง จ.ระยอง
ประวัติความเป็นมาไม่มีผู้ใดทราบว่าสร้างขึ้นเมื่อใด หรือใครเป็นผู้สร้าง แต่สันนิษฐานว่าสร้างมา ๓๐๐ กว่าปีแล้วก่อนสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ตามประวัติว่าพระเจ้ากรุงธนบุรีพาทหารและพลเรือน อพยพมาผูกช้างม้าพักแรมที่โคนต้นสะตือใหญ่ ซึ่งเป็นบริเวณวัดลุ่มกับวัดเนินติดต่อกันและสะตือต้นนั้นยังปรากฎอยู่ทุกวันนี้
ปีพ.ศ. ๒๔๖๓ สมเด็จพระสังฆราช กรมพระวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศ สมัยดำรงสมณศักดิ์ที่พระญาณวราภรณ์ ได้รวมเอาวัดลุ่มกับวัดเนินเป็นวัดเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความสามัคคีรักใคร่กลมเกลียวกัน เมื่อรวมเข้าด้วยกันทำให้วัดมีเนื้อที่ทั้งหมด ๓๕ ไร่ ๒ งาน ๔๓ วาปูชนียวัตถุโบราณของวัดปรักหักพังไปเป็นส่วนมาก ที่มีอยู่ก็ยากจะซ่อมแซมปฎิสังขรณ์ให้ดีขึ้นมาได้ เช่น หอไตร อุโบสถ เจดีย์ หอระฆัง จึงเพียงสงวนไว้ให้เป็นของเก่า ส่วนที่สร้างขึ้นใหม่ได้แก่ อุโบสถ เสนาสนะ หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ โรงเรียนปริยัติธรรมและศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแบบจัตุรมุข ใกล้ต้นสะตือประวัติศาสตร์ต้นนั้น ซึ่งเป็นจุดดึงดูดให้ผู้คนตลอดจนนักท่องเที่ยวได้เข้าไปกราบไหว้สักการะกันไม่ขาดระยะ
เสนาสนะที่สร้างขึ้นใหม่ โดยเฉพาะอุโบสถได้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๑๑ พ.ค.๒๕๑๓ ขนาดยาวเกือบ ๒๑ เมตร กว้าง ๑๗ เมตร ลักษณะเป็นทรงจัตุรมุขสวยงาม เมื่อมองด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลังจะเห็นตัวอุโบสถตั้งตระหง่านสง่างามทั้ง ๔ ชั้น  มุงด้วยกระเบื้องลอนสีน้ำตาลแก่ มีช่อฟ้า ๑๖ ตัว อ่อนช้อยทวยระหงส์ ถัดลงมามีใบระกาหางหงส์ ๗๘ ตัว ลักษณะเหมือนพญานาคประดับด้วยกระจกสีเหลืองทอง
หน้าบันลายไทยสวยงาม มองถัดลงมาจะเห็นคันทวยอันอ่อนช้อย บัวปลายเสามีลักษณะเป็นกลีบบัวบานขึ้นไปตามคอเสาซึ่งเป็นเหมือนรังผึ้ง มีเทพนมอยู่ตรงกลางราวกับจะอนุโมทนาสาธุการข้างอุโบสถ
ด้านในปูด้วยหินอ่อนสระบุรี ภายในประดิษฐานพระประธานแบบพระพุทธชินราชจำลองจากเมืองพิษณุโลกเนื้อทองเหลืองลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๔ ศอก ๙ นิ้ว ประทับบนแท่นสูงด้วยพุทธลักษณะสง่างาม ถัดลงมามีพระอัครสาวกซ้ายขวา
วัดแห่งนี้ถือเป็นวัดประวัติศาสตร์ของชาวเมืองระยอง สมัยเมื่อ ๓๐๐ กว่าปีที่ผ่านมา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เสด็จเดินทัพมาพักแรม และรวบรวมพลของพระองค์ก่อนที่จะเสด็จไปยึดเมืองจันทบุรี และกลับไปกู้ชาติไทยให้กลับคืนมาเป็นเอกราช
ๆๆทางวัดได้สร้างพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาดเท่าองค์จริงและศาลที่ประทับ เพื่อให้ลูกหลานไทยจีนได้ตระหนักถึงวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ในประวัติศาสตร์ ในช่วงเทศกาลตรุษจีนทุกปีจะมีประชาชนเข้าไปกราบไหว้สักการะจำนวนมาก โดยมีต้นสะตือประวัติศาสตร์ยังคงแผ่สาขากิ่งก้านให้ความร่มรื่นอยู่จนทุกวันนี้

วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

ประวัติพระเจ้าตากสินแบบย่อ 3

เมื่อรวมชุมนุมของพระองค์เองที่กกรุงธนบุรีแล้วก็มีถึงห้าชุมนุม
พระองค์ทรงใช้เวลาในการปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ อยู่สามปี จึงเสร็จปราบปรามได้เสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๓
ทำให้พระราชอาณาจักรเป็นปึกแผ่น 
ส่วนหัวเมืองมาลายูได้แก่ เมืองปัตตานี เมืองไทรบุรี เมืองกลันตัน และเมืองตรังกานู
ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยามาแต่เดิม และได้แยกตัวเป็นอิสระเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง
พระองค์เห็นว่ายังไม่พร้อม และยังไม่มีความสำคัญเร่งด่วน ที่จะไปปราบปรามจึงได้ปล่อยไปก่อน 
ในการทำสงครามกับพม่าในระยะต่อมา พระองค์ได้เปลี่ยนหลักนิยมในการยึดพระนครเป็นที่ตั้งรับข้าศึก
มาเป็นการยกกำลังไปยับยั้งข้าศึกที่ชายแดน
ทำให้ประชาชนพลเมืองไม่ได้รับอันตรายเสียหายเดือดร้อนจากข้าศึก 
ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีการทำสงครามขยายพระราชอาณาเขต ของกรุงศรีอยุธยาออกไปอย่างกว้างขวาง
โดยได้ทำศึกสงครามกับพม่า และอาณาจักรอื่น ๆ รวม ๑๒ ครั้ง
ในปีพ.ศ.๒๓๒๔ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ
ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกทัพไปปราบเขมร
แต่ต้องยกทัพกลับเนื่องจากทางกรุงธนบุรีเกิดจราจล 
โดยพระยาสรรค์ได้ก่อกบฏ ยกกำลังเข้ายึดกรุงธนบุรี แล้วจับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ให้ไปทรงผนวชที่วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) 
เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหาาษัตริย์ศึก ยกทัพกลับมาถึงกรุงธนบุรี ได้ปราบปรามกบฎได้สำเร็จ
ราษฎรและบรรดามหาอำมาตย์ จึงได้พร้อมใจกันอัญเชิญให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้นครองราชย์
เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ 
ตลอดรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงทำศึกสงครามมาโดยตลอดเวลา ๑๕ ปี โดยมิได้หยุดหย่อน
ได้ขยายพระราชอาณาเขตของกรุงธนบุรีออกไป จนเกือบเท่ากับสมัยกรุงศรีอยุธยาก่อนเสียกรุงแก่พม่า
พระองค์ได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช


ประวัติพระเจ้าตากสินแบบย่อ 2

จากนั้นได้นำกำลังไปตั้งมั่นที่เมืองจันทบุรี เพื่อรวบรวมกำลังมากู้กรุงศรีอยุธยาที่เสียแก่พม่า
เมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๑๐ 
เมื่อพระองค์ทรงรวบรวมกำลังพลได้ประมาณ ๕,๐๐๐ คน กับเรือรบ ๑๐๐ ลำ ก็ได้ยกกำลังทางเรือเข้ายึดเมืองธนบุรี
ได้เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๑๑ ในวันต่อมาพระองค์ได้ตีค่ายทหารพม่าที่ค่ายโพธิสามต้น 
และค่ายอื่นๆ แตกทุกค่าย ทำการกู้เอกราชกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จในเวลาเพียงเจ็ดเดือน 
หลังจากขับไล่พม่าออกไปแล้วพระองค์ก็ได้ทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๑๑
เมื่อพระชนมายุได้ ๓๔ พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ หรือสมเด็จพระบรมราชที่ ๔
แต่คนทั่วไปนิยมขนานพระนามพระองค์ว่า สมเด็จพระเจ้กรุงธนบุรี หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 
พระองค์ทรงเห็นว่า กรุงศรีอยุธยาที่ถูกฝ่ายพม่าเผาผลาญวอดวาย ทำลายบ้านเมืองไปหมดสิ้น
เกินกว่าที่จะบูรณปฎิสังขรณ์ให้กลับเป็นเมืองหลวงได้ จึงทรงเลือกเมืองธนบุรี
ที่มีความเหมาะสมกว่าขึ้นเป็นราชธานี 
พระราชกรณียกิจของพระองค์ในลำดับต่อมาคือการรวบรวม การรวบรวมกำลังไว้ต่อสู้กับพม่าต่อไปคือ
ความเป็นปึกแผ่นของพระราชอาณาจักร 
ซึ่งในเวลานั้นได้มีผู้ตั้งตนเป็นใหญ่ห้าชุมนุมต่าง ๆ ได้แก่ ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก ชุมนุมเจ้าพระฝาง
ชุมนุมเจ้าพิมาย และชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช 











ประวัติพระเจ้าตากสินแบบย่อ 1

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระนามเดิมว่า สิน 
ทรงพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๗๗ ที่บ้านใกล้กำแพงพระนครศรีอยุธยา 
พระราชบิดามีบรรดาศักดิ์เป็นขุนพัฒน์ (นายหยง หรือ ไหฮอง แซ่อ๋อง บางตำราก็ว่า แซ่แต้)
พระราชมารดาชื่อ นกเอี้ยง (กรมพระเทพามาตย์)
ต่อมาภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นกรมพระเทพามาตย์ เจ้าพระยาจักรี สมุหนายก
ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ 
ได้ขอรับไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี เจ้าพระยาจักรี
ได้นำเข้าถวายตัวรับราชการเป็นมหาดเล็ก ทำราชการอยู่ในบังคับบัญชาของหลวงศักดิ์นายเวร 
เมื่ออายุได้ ๒๑ ปี เจ้าพระยาจักรี ได้ทำการอุปสมบทให้ในสำนักพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส (วัดเชิงท่า)
อยู่สามพรรษาแล้วลาสิกขาเข้ารับราชการตามเดิม 
ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ (สมเด็จพระบรมราชาที่ ๓) ได้รับโปรดเกล้า ฯ
ให้เป็นข้าหลวงพิเศษเดินทางไปชำระคดีความตามหัวเมืองฝ่ายเหนือ มีความดีความชอบ ได้รับโปรดเกล้า ฯ
ให้เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตาก ต่อมาเมื่อพระยาตากถึงแก่กรรม ก็ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นพระยาตากแทน 
เมื่อพม่ายกกำลังเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะเสียแก่พม่าครั้งที่สอง
พระยาตากได้เข้ามาช่วยราชการป้องกันกรุงศรีอยุธยาอย่างเข้มแข็ง 
แต่ในที่สุดเมื่อเห็นว่าการป้องกันกรุงศรีอยุธยาในครั้งนั้น ไม่อำนวยให้กระทำได้อย่างเต็มที่
และอยู่นอกอำนาจหน้าที่ที่พระองค์จะแก้ไขได้ 
จึงได้หาทางต่อสู้ใหม่ ด้วยการตีฝ่าวงล้อมพม่าออกไป ด้วยกำลังเล็กน้อยเพียง ๕๐๐ คน
ได้ต่อสู้กับกองทหารพม่าที่บ้านพรานนก ได้ชัยชนะ