เมื่อรวมชุมนุมของพระองค์เองที่กกรุงธนบุรีแล้วก็มีถึงห้าชุมนุม
พระองค์ทรงใช้เวลาในการปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ อยู่สามปี จึงเสร็จปราบปรามได้เสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๓
ทำให้พระราชอาณาจักรเป็นปึกแผ่น
ส่วนหัวเมืองมาลายูได้แก่ เมืองปัตตานี เมืองไทรบุรี เมืองกลันตัน และเมืองตรังกานู
ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยามาแต่เดิม และได้แยกตัวเป็นอิสระเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง
พระองค์เห็นว่ายังไม่พร้อม และยังไม่มีความสำคัญเร่งด่วน ที่จะไปปราบปรามจึงได้ปล่อยไปก่อน
ในการทำสงครามกับพม่าในระยะต่อมา พระองค์ได้เปลี่ยนหลักนิยมในการยึดพระนครเป็นที่ตั้งรับข้าศึก
มาเป็นการยกกำลังไปยับยั้งข้าศึกที่ชายแดน
ทำให้ประชาชนพลเมืองไม่ได้รับอันตรายเสียหายเดือดร้อนจากข้าศึก
ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีการทำสงครามขยายพระราชอาณาเขต ของกรุงศรีอยุธยาออกไปอย่างกว้างขวาง
โดยได้ทำศึกสงครามกับพม่า และอาณาจักรอื่น ๆ รวม ๑๒ ครั้ง
ในปีพ.ศ.๒๓๒๔ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ
ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกทัพไปปราบเขมร
แต่ต้องยกทัพกลับเนื่องจากทางกรุงธนบุรีเกิดจราจล
โดยพระยาสรรค์ได้ก่อกบฏ ยกกำลังเข้ายึดกรุงธนบุรี แล้วจับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ให้ไปทรงผนวชที่วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง)
เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหาาษัตริย์ศึก ยกทัพกลับมาถึงกรุงธนบุรี ได้ปราบปรามกบฎได้สำเร็จ
ราษฎรและบรรดามหาอำมาตย์ จึงได้พร้อมใจกันอัญเชิญให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้นครองราชย์
เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕
ตลอดรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงทำศึกสงครามมาโดยตลอดเวลา ๑๕ ปี โดยมิได้หยุดหย่อน
ได้ขยายพระราชอาณาเขตของกรุงธนบุรีออกไป จนเกือบเท่ากับสมัยกรุงศรีอยุธยาก่อนเสียกรุงแก่พม่า
พระองค์ได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
พระองค์ทรงใช้เวลาในการปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ อยู่สามปี จึงเสร็จปราบปรามได้เสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๓
ทำให้พระราชอาณาจักรเป็นปึกแผ่น
ส่วนหัวเมืองมาลายูได้แก่ เมืองปัตตานี เมืองไทรบุรี เมืองกลันตัน และเมืองตรังกานู
ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยามาแต่เดิม และได้แยกตัวเป็นอิสระเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง
พระองค์เห็นว่ายังไม่พร้อม และยังไม่มีความสำคัญเร่งด่วน ที่จะไปปราบปรามจึงได้ปล่อยไปก่อน
ในการทำสงครามกับพม่าในระยะต่อมา พระองค์ได้เปลี่ยนหลักนิยมในการยึดพระนครเป็นที่ตั้งรับข้าศึก
มาเป็นการยกกำลังไปยับยั้งข้าศึกที่ชายแดน
ทำให้ประชาชนพลเมืองไม่ได้รับอันตรายเสียหายเดือดร้อนจากข้าศึก
ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีการทำสงครามขยายพระราชอาณาเขต ของกรุงศรีอยุธยาออกไปอย่างกว้างขวาง
โดยได้ทำศึกสงครามกับพม่า และอาณาจักรอื่น ๆ รวม ๑๒ ครั้ง
ในปีพ.ศ.๒๓๒๔ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ
ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกทัพไปปราบเขมร
แต่ต้องยกทัพกลับเนื่องจากทางกรุงธนบุรีเกิดจราจล
โดยพระยาสรรค์ได้ก่อกบฏ ยกกำลังเข้ายึดกรุงธนบุรี แล้วจับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ให้ไปทรงผนวชที่วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง)
เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหาาษัตริย์ศึก ยกทัพกลับมาถึงกรุงธนบุรี ได้ปราบปรามกบฎได้สำเร็จ
ราษฎรและบรรดามหาอำมาตย์ จึงได้พร้อมใจกันอัญเชิญให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้นครองราชย์
เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕
ตลอดรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงทำศึกสงครามมาโดยตลอดเวลา ๑๕ ปี โดยมิได้หยุดหย่อน
ได้ขยายพระราชอาณาเขตของกรุงธนบุรีออกไป จนเกือบเท่ากับสมัยกรุงศรีอยุธยาก่อนเสียกรุงแก่พม่า
พระองค์ได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น